งานใหม่

1.นวัตกรรมการศึกษาที่น่าสนใจ
การนำนวัตกรรมมาใช้ในวงการศึกษาเรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ เป็นต้น
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) - แบบเรียนโปรแกรม (Programmed Text Book) - เครื่องสอน (Teaching Machine) - การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) - WBI
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อม ซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น - ศูนย์การเรียน (Learning Center) - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - การปรับปรุงการสอนสามขั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) - การเรียนทางไปรษณีย์ - eLearning
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ - การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนโปรแกรม - ชุดการเรียน - eEducation
สรุป
นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ ซึ่งนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในแต่ละวงการจะมีการคิดและทำสิ่งใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น นวัตกรรมจึงเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน ในวงการศึกษาปัจจุบัน มีสิ่งที่เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา หรือนวัตกรรมการเรียนการสอน อยู่เป็นจำนวนมาก บางอย่างเกิดขึ้นใหม่ บางอย่างมีการใช้มาหลายสิบปีแล้ว แต่ก็ยังคงถือว่าเป็น นวัตกรรม เนื่องจากนวัตกรรมเหล่านั้นยังไม่แพร่หลายเป็นที่รู้จักทั่วไปในวงการศึกษา

2.แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
1. ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบได้อย่างไม่รู้จบ
2. คุณลักษณะของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับบรรยากาศและสถานการณ์จริงโดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียนทุกคน ทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมีอิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและ ปฏิบัติได้อย่างมีความสุข
3. ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกได้หลายประเภทตามทัศนะของนักการศึกษาแต่ที่เด่นชัด จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
3.1 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยกย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ ตัวอย่างเช่น แม่กิมลั้ง แม่กิมเนีย ที่มีความถนัดทางด้านปรุงแต่งขนมหม้อแกงเมืองเพชร โกฮับเจ้าเก่า ผู้บุกเบิกก๋วยเตี๋ยวเรือคลองรังสิตจนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ด้านการเรียนการสอน มีครูต้นแบบสร้างสรรค์ ผลงานนวัตกรรมทางการสอนขึ้นหลายรูปแบบ เช่น สอนให้สนุกเป็นสุขเมื่อได้สอน การสอนที่เน้นกระบวนการ การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อนสอนเพื่อน การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา การสอนดนตรีไทยและดนตรีพื้นเมือง
3.2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและอวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์ป่านานาชนิด เป็นต้นเนื่องด้วยปัจจุบันมีการนำธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์อย่างมากจนเหลือจำนวนน้อยลง มนุษย์เริ่มตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะขาดธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงได้มีการรณรงค์สร้างสิ่งทดแทนธรรมชาติ ได้แก่ ปลูกป่า จัดระบบนิเวศวิทยา อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการสอนพฤกษ-ศาสตร์ อนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชนานาชนิด
3.3 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยกได้ 2 ประเภท คือ
(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิดต่างๆ เป็นต้น
(2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และเทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่
(2.1) สื่อท้องถิ่น ประเภทเพลง เช่น หมอลำ หนังตะลุง ลำตัด อีแซว ลำนำเพลงซอ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย และนิทานพื้นบ้าน เป็นต้น
(2.2) สื่อกิจกรรม เช่น หมากเก็บ หมากขะเหย่ง ตี่จับ มอญซ่อนผ้า เดินกะลา เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า สื่อกิจกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมีมาแต่โบราณ หลายกิจกรรมเหมือนกับของชนเผ่าปิกมี่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความสนุกตื่นเต้นในกลุ่มเด็กๆ ปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่ แต่ก็มีกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับ จนถึงการใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น โปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ บทเรียนโปรแกรม โปรแกรมผ่านสื่ออินเตอร์เนต ระบบมัลติมิเดีย ประเภท E-Learning เป็นต้น ซึ่งการประชุมสัมมนา การปฏิบัติงานกลุ่ม การทัศนศึกษา ก็เข้าข่ายสื่อกิจกรรมชนิดหนึ่ง
3.4 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพเป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น

3.เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า "วิทยาศาสตร์ประยุกต์" หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี"
เทคโนโลยีี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm) เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี (วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ
สภาเทคโนโลยีการศึกษานานาชาติได้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีการศึกษา ว่าเป็นการพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น
ดร.เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอน ให้กว้างขวางขึ้นทั้งในด้านบุคคล วัสดุเครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน (boonpan edt01.htm) Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบ ให้บรรลุผลตามแผนการ
นอกจากนี้เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษา ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัส ด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่าโสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก มโนทัศน์ของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ คือ
1. มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามมโนทัศน์นี้ เทคโนโลยีการศึกษาหมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา ตามความคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการ หรือปฏิกิริยาสัมพันธ์อื่น ๆ เข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ "โสตทัศนศึกษา" นั่นเอง
2. มโนทัศน์ทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียน เปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นมิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณ์เท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์ แต่เพียงอย่างเดียว
เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น
1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด ‘แบบเรียนโปรแกรม’ ซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก

4.คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา คือ การนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการด้านการศึกษา ประกอบด้วยงานหลัก 4 ระบบ
1. คอมพิวเตอร์เพื่อบริหารการศึกษา (Computer for EducationAdministration) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารงานด้านต่าง ๆ เช่น การบริหารงานด้านการศึกษาประกอบด้วยครู ผู้เรียน และเจ้าหน้าที่บุคลากรที่เกี่ยวข้องอื่น ๆเป็นต้น
2. คอมพิวเตอร์เพื่อบริการการศึกษา (Computer for Education Service) หมายถึง การบริการการศึกษาด้านต่าง ๆ เช่น การบริการสารสนเทศการศึกษา 3. คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน (Computer Assisted Instruction)หมายถึง การนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในกิจกรรมการเรียนการสอนในเนื้อหาวิชาต่างๆ 4. การรู้คอมพิวเตอร์ (Computer Literacy) เป็นการศึกษา การสอน/การฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้ความสามารถและทักษะการใช้คอมพิวเตอร์โดนตรงรวมทั้งการประยุกต์ใช้ และเจตคติต่อคอมพิวเตอร์และ ICT

ความรู้และทักษะเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาที่ครูทุกคนควรมี

ประเด็นการอภิปราย
1. ครูควรมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษาหรือไม่? อย่างไร? และเพราะอะไร?
ตอบ ครูควรมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษาอย่างยิ่ง เพราะครูสามารถนำความรู้นี้ไปช่วยในการเรียนการสอนให้ง่ายและเข้าใจมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากนั้นยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ ได้อีกด้วย
2. ความรู้และทักษะที่ท่านว่ามีอะไรบ้าง?
ตอบ 1.มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์
2. มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการใช้โสตทัศนูปกรณ์
3. เครื่องมือเทคโนโลยีการศึกษาที่จำเป็นสำหรับครูในปัจจุบันมีอะไรบ้าง?
ตอบ สื่อวิดีทัศน์ ,คอมพิวเตอร์ ,เครื่องเสียง ,เครื่องโปรเทคเตอร์ ,overhead เป็นต้น4.จะทราบได้อย่างไร? ว่าครูมีความรู้และทักษะมากน้อยแค่ไหน?
ตอบ 1. ครูสาธิตการใช้งานของเครื่องมือต่างๆ
2. จัดแสดงผลงานของครู
5.จะเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาความรู้และทักษะเหล่านี้แก่ครูด้วยตนเองอย่างไร?ตอบ ศึกษาจากหนังสือ ตำราวิชาการต่างๆ หาข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้รู้และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ หรือเข้ารับการอบรม สัมมนาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษา

สื่อมวลชนกับการศึกษา

สื่อมวลชนกับการศึกษา

การใช้คำว่า " การศึกษา" ตามความหมายที่ถูกต้อง คือความหมายที่ตรงกับความหมายของคำในภาษาอังกฤษว่า "Education" ในภาษาไทย บางครั้งคนทั่วไปใช้คำว่าการศึกษาในความหมายที่คาดเคลื่อน คือ นำไปใช้ในความหมายของ คำว่า การเรียนรู้ (Learning) และคำว่า การศึกษาค้นคว้า (Study) ซึ่งมีความหมายแตกต่างกัน กล่าวคือ การเรียนรู้ หมายถึงการแปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากประสบการณ์ โดยพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นอาจเปลี่ยนแปลงไปในทางดีหรือทางไม่ดีก็ได้ แต่คำว่า "การศึกษา" หมายถึงเฉพาะการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เป็นไปในทางที่ดีและสังคมยอมรับเท่านั้น ส่วนคำว่า "การศึกษาค้นคว้า" หมายถึงการเสาะแสวงหรือค้นหาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาในอดีตถือว่า การศึกษาเกิดขึ้นได้เฉพาะในสถาบันการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย หรือมหาวิทยาลัยเท่านั้น การศึกษาเริ่มต้นเมื่อเข้าโรงเรียนตามอายุที่กำหนด และสิ้นสุดการศึกษาเมื่อออกจากโรงเรียน ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับในช่วงการเข้าเรียนนั้นสามารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต ผู้ที่เรียนหนังสือในโรงเรียนเป็นเวลานาน จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง ส่วนคนที่เรียนในโรงเรียนในเพียงระยะสั้น หรือไม่เคยเข้าโรงเรียนเลยก็ได้ชื่อว่าเป็นคนการศึกษาต่ำหรือไร้การศึกษา สถานศึกษาจึงกลายเป็นเครื่องมืออันหนึ่ง ในการแบ่งแยกชนชั้น ซึ่งความคิดเช่นนี้ ในปัจจุบันไม่อาจใช้ได้ ทั้งนี้เพราะสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้คนสามารถรับการศึกษาได้จากหลายทาง ความรู้และประสบการณ์ที่เคยได้รับจากการศึกษาในโรง เรียน สามารถนำไปใช้ได้ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไปความรู้เดิมอาจไม่สามารถใช้ได้ จำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้สิ่งต่างๆ เพิ่มอยู่ตลอดเวลา ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต ตั้งแต่ก่อนวัยเข้าโรงเรียนหรือผ่านพ้นวัยที่จะต้องศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียน ก็ยังจำเป็นต้องได้รับการศึกษาอยู่เสมอ บทบาทของสื่อสารมวลชน ที่เกี่ยวกับการศึกษาไว้ว่า สื่อมวลชนเปรียบเสมือนครู ที่ให้การศึกษาแก่ประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม ให้ทั้งความรู้ทางวิชาการใหม่ๆ และเจตคติในด้านต่างๆ ซึ่งถือได้ว่ามีความเป็นจริงอย่างมากในสังคมปัจจุบัน เนื่องจากสื่อมวลชนต่างๆ ได้แสดงบทบาทหน้าที่ทางด้านการศึกษาให้เห็นอย่างเด่นชัด


สื่อมวลชน หมายถึง สื่อประเภทต่างๆ เช่น วารสาร โปสเตอร์ หนังสือพิมพ์ เมื่อนำสื่อมวลชนมาศึกษาจึงเรียกว่า “สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา” หมายถึง การนำสื่อมวลชนมาใช้เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้เนื้อหาบทเรียนไปยังผู้เรียนหรือผู้รับจำนวนมากได้ในเวลาเดียวกัน

บทบาทและหน้าที่สื่อมวลชน คือ ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ ให้สาระบันเทิงแก่ประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ โดยมุ่งให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุกสนาน คลายความเครียด และมีสุขภาพจิตที่ดี ได้แก่ รายการเพลง ดนตรี ละคร นิยาย เป็นต้น

ความจำเป็นในการใช้สื่อมวลชนเพื่อการศึกษา
เหตุผลหรือความจำเป็นด้านต่างๆ ในการใช้สื่อมวลชนเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาสรุปได้ดังต่อไปนี้ คือ
1. การเพิ่มของประชากร
1.1 ประชากรในระบบโรงเรียน ในปัจจุบันจำนวนนักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงระดับอุดมศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก จำนวนผู้เรียนต่อห้องเรียน ในสถาบันหลายแห่งมีจำนวนสูงถึง 50 คน สถาบันต่างๆ จึงไม่สามารถที่จะจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้อย่างสมบรูณ์ ด้วยวิธีการเรียนการสอนแบบเดิมๆ ที่เคยปฏิบัติกันมา สื่อมวลชนนั้นสามารถกระจายความรู้ข่าวสารไปสู่ผู้ฟังได้เป็นจำนวนมากพร้อมกัน หากสามารถคิดค้นหาวิธีการ ที่จะนำสื่อมวลชนต่างๆ มาใช้ได้อย่างเหมาะสม ย่อมจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างแน่นอน
1.2 ประชากรวัยเรียนนอกระบบโรงเรียน ที่สำคัญในประเด็นนี้ คือ กลุ่มประชากรที่มีอายุในวัยที่ควรจะได้รับการศึกษาเล่าเรียน คือมีอายุประมาณไม่เกิน 25 ปี ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมาก ที่ ขาดโอกาสเข้ารับการศึกษาในระบบโรงเรียน ด้วยเหตุผลความจำเป็นในด้านต่างๆ ประชากรในวัยนี้จะต้องเรียนรู้ซึมซับเอาสิ่งต่างๆ ในสังคมรอบตัว หากไม่ช่วยให้ได้รับการศึกษา ย่อมจะส่งผลให้เกิดปัญหาสังคมในอนาคต ซึ่งหลายฝ่ายได้พยายามแก้ปัญหาเรื่องนี้ การสื่อสารมวลชนจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สามารถกระจายข่าวสาร สร้างค่านิยม ตลอดจนให้ความรู้ในช่องทางการประกอบอาชีพให้แก่ประชากรกลุ่มนี้ได้
2. แนวคิดการศึกษาตลอดชีวิตแนวคิดทางการศึกษาในปัจจุบัน ถือว่า การศึกษาของคน มิใช่จะเกิดขึ้นเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยศึกษาเล่าเรียนเท่านั้น แต่จะต้องเกิดขึ้นตลอดเวลาที่คนมีชีวิตอยู่ ซึ่งเรียกว่า การศึกษาตลอดชีวิต เริ่มตั้งแต่วัยเด็ก ก่อนการเข้าศึกษาในระบบโรงเรียน ซึ่งเด็กมีวุฒิภาวะเพียงพอสำหรับการเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากสังคมรอบตัว แต่เนื่องจากความจำเป็นทางครอบครัว และระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่สามารถจัดการศึกษาให้เด็กเหล่านี้ได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะในชนบทห่างไกลซึ่งยังมีเด็กขาดการดูแลเตรียมความพร้อมอีกเป็นจำนวนมากเด็กก่อนวัยเรียนโดยทั่วไป ได้รับการเลี้ยงดูอยู่กับบ้านซึ่งดูเหมือนว่าเด็กเล็กๆ เหล่านั้น ไม่ได้รับการศึกษาเรียนรู้อะไรมาก แต่ในความเป็นจริง ปัจจุบันสื่อวิทยุ โทรทัศน์ได้กระจายไปถึงประชาชนทุกระดับ เด็กจำนวนมากใช้เวลาส่วนใหญ่ที่มีอยู่ สำหรับการชมโทรทัศน์ จึงเห็นได้ชัดเจนว่า โทรทัศน์มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของเด็กเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านที่ดี และในด้านที่ไม่ดี ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องจึงควรจัดทำรายการ และเลือกทำรายการที่เหมาะสมให้กับเด็กในวัยผู้ใหญ่ ที่ต้องประกอบอาชีพและรับผิดชอบตนเอง ความรู้ที่เคยได้รับมา อาจไม่สามารถใช้ได้ตลอดไป จำเป็นต้องรับทราบข่าวสารและเรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งในส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมส่วนรวม
3. การขาดแคลนผู้สอนที่เชี่ยวชาญในการเรียนการสอน ครูผู้สอนเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ช่วยให้การสอนประสบผลสำเร็จ การเรียนการสอนสาขาวิชาการต่างๆ ในปัจจุบัน มีหลายสาขาวิชาที่ขาดแคลนผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญการสอน แม้ว่าหลายฝ่ายจะได้พยายามแก้ปัญหานี้ โดยการจัดอบรมบุคลากรในรูปแบบต่างๆ ก็สามารถช่วยได้เพียงส่วนหนึ่ง ปัญหาการสอนในบางวิชา เช่น ภาษาต่างประเทศ ที่ต้องออกเสียงให้ถูกต้อง จำเป็นต้องใช้เสียงคนที่เจ้าของภาษามาช่วยออกเสียง หรือแม้แต่ภาษาไทยเองก็ยังพบว่ามีปัญหาในการสอนอยู่ทั่วไปโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ ปัจจุบัน ส่วนใหญ่ขาดแคลนครูผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง การจัดหาครูจะต้องเสียค่าจ้างในอัตราที่สูง จึงเป็นไปได้ยากที่จะจัดหาผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถให้เพียงพอ แต่สื่อมวลชน เปิดโอกาสให้นำรายการสอนจากผู้สอนที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไปสู้ห้องเรียนตลอดจนถึงชุมชนบ้านเรือนได้อย่างกว้างขวาง
4. ขาดแคลนวัสดุอุปกรณ์การสอนวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนประเภทสื่อโสตทัศนศึกษา และวัสดุอุปกรณ์สำหรับการทดลองปฏิบัติการต่างๆ นับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นสำหรับการเรียนการสอน ซึ่งในสภาพโดยทั่วไปของโรงเรียนหรือสถานศึกษาต่างๆ ในปัจจุบัน ยังขาดแคลนสิ่งเหล่านี้อยู่มากสื่อมวลชนในปัจจุบันมีศักยภาพอย่างเพียงพอ ในการนำเสนอสาระความรู้ต่างๆ โดย เฉพาะโทรทัศน์ ที่นำเสนอภาพยนตร์ หรือการสาธิตที่มีวัสดุอุปกรณ์ประกอบอย่างสมบรูณ์ ทำให้เราเข้าใจเนื้อหาได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างการศึกษาวิชาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ ผู้สอนโดยทั่วไปมักจะใช้เอกสาร หรือรูปภาพเป็นสื่อช่วยในการสอน เนื่องจากขาดแคลนสื่ออย่างอื่นที่ดีกว่า ซึ่งช่วยให้เข้าใจบทเรียนได้เพียงเล็กน้อย หากจะให้ดีขึ้นครูสามารถนำรายการสารคดีทางภูมิศาสตร์ หรือการท่องเที่ยวต่างๆ ที่เผยแพร่ทางโทรทัศน์ มาใช้สอนได้เป็นอย่างดี การทดลองหรือปฏิบัติการในวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ก็เช่นเดียวกัน ปัจจุบันมีการนำเสนอเนื้อหาวิชาด้านนี้ทางโทรทัศน์ เป็นจำนวนมาก ซึ่งสามารถแสดงให้กระบวนการและปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ชัดเจน
5. การกระจายของประชากรการตั้งชุมชนที่อยู่อาศัยของประชาชน ปัจจุบันยังมีจำนวนมากที่กระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งชุมชนที่ห่างไกลจากโรงเรียน เช่น ชาวเขา เกษตรกรที่ย้ายถิ่นฐานเข้าไปหาที่ทำกินในเขตป่า หรือแม้แต่กลุ่มประชากรจากในเมือง ที่จำเป็นต้องออกไปปฏิบัติงานในสถานที่ห่างไกล ซึ่งไม่ว่าประชากรกลุ่มใดก็ตาม ความจำเป็นในการรับทราบข่าวสาร และการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ย่อมจะต้องมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง การจัดการศึกษาให้ในรูปแบบอื่นอาจทำได้ยาก แต่หากจัดการศึกษาให้ได้รับทางสื่อสารมวลชนย่อมสามารถทำได้เสมอ
6. การเปลี่ยนแปลงของสังคมและข่าวสารสถานการณ์ของสังคมและข่าวสารต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอและมีอัตราการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมากกว่าในอดีต เกี่ยวกับวิชาการในสาขาวิชาการต่างๆ หากพิจารณาเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ของช่วงเวลาหนึ่งในอดีต กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของช่วงเวลาที่เท่ากันในระยะหลังๆ จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ช่วงเวลาหลังๆ มีการเปลี่ยนแปลงที่เร็วมาก ผู้ติดตามความรู้ข่าวสารต่างๆ ทางสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วารสารนิตยสาร จะทราบได้อย่างดีว่า แต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย ซึ่งความรู้ข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่เหล่านี้ ในระบบหลักสูตรและการเรียนการสอนทั่วไป ไม่สามารถปรับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงได้ แบบเรียนที่จัดทำขึ้นในการปรับปรุงหลักสูตรแต่ละครั้ง ก็ใช้ไปอีกหลายปี ซึ่งเนื้อหาความรู้บางอย่างอาจเปลี่ยนแปลงไปแล้ว จึงมีความจำเป็นต้องหาทางเลือกใหม่ โดยใช้สื่อมวลชนสำหรับการศึกษาในส่วนนี้ด้านสังคม มีเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การเลือกตั้ง เศรษฐกิจการค้า โรคระบาด ฯลฯ ซึ่งข่าวสารเหล่านี้จะถูกรายงานให้ประชาชนทราบอยู่ตลอดเวลาโดยสื่อมวลชนต่างๆ การศึกษาทางด้านสังคมจึงสามารถใช้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อมวลชนได้โดยตรง
7. ความก้าวหน้าของสื่อมวลชนความต้องการรับรู้ข่าวสารของประชาชน ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การสื่อสาร และการศึกษาค้นคว้าทางด้านการสื่อสารมวลชน ทำให้สถานภาพการสื่อสารมวลชนปัจจุบันได้รับการพัฒนาขึ้นหลายด้าน เช่น- ด้านปริมาณ มีสื่อมวลชนเพิ่มจำนวนขึ้นมาก นำเสนอเนื้อหาหลากหลาย ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างทั่วถึง- เนื้อหาสาระ หรือรายการที่เป็นประโยชน์ทั้งด้านบันเทิงและด้านการศึกษามีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก- คุณภาพของสื่อ ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้นมาก เช่น สิ่งพิมพ์ต่างๆ มีคุณภาพดีขึ้น ตัวหนังสือ ภาพประกอบ สี มีความสวยงาม สื่อความหมายได้ชัดเจน วิทยุโทรทัศน์ ได้รับการปรับให้เสียงและภาพชัดเจนขึ้น- เทคนิคการนำเสนอ ได้แก่ การจัดรูปแบบสิ่งพิมพ์ รูปแบบของรายการโทรทัศน์ ที่ได้รับการปรับปรุงให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ มีรายการแปลกๆ ใหม่ๆ ใช้เทคนิคการตัดต่อภาพหรือเสียง และเทคนิคพิเศษน่าสนใจ และก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจได้มากขึ้น

ความเห็นเกี่ยวกับสื่อมวลชนในด้านการศึกษา สื่อมวลชน นอกจากจะให้ความบันเทิงใจแก่ผู้รับ ซึ่งเป็นงานหลักของสื่อมวลชนแล้ว ยังให้ความรู้ความคิดแก่ประชาชนได้เป็นอันมาก สื่อมวลชนเปรียบเสมือนเป็นโรงเรียนข้างเคียง (Parallel School) ที่สามารถให้การศึกษาควบคู่ไปกับการศึกษาในระบบโรงเรียน

SMS ย่อมาจากคำว่า Short Message Service หรือเป็นบริการส่งข้อความสั้นๆ ลักษณะการใช้งานจะคล้ายกับการส่งอีเมลล์ แต่จะสามารถส่งข้อความได้ไม่เกิน 160 ตัวอักษรผ่านทางโทรศัพท์มือถือ

จุดเด่นของบริการ SMS คือ สามารถส่งไปยังผู้รับโดยไม่ต้องกังวลว่าพื้นที่ของผู้รับจะมีสัญญาณหรือไม่ ในขณะนั้น หากทางปลายทางไม่มีสัญญาณระบบ SMS นี้จะเก็บข้อมูลไว้จนกว่าปลายทางมีสัญญาณทางระบบจึงจะทำการส่งข้อมูลไปในทันที นอกจากนี้แล้ว SMS ยังสามารถส่งข้อความที่ได้รับมาต่อไปยังหมายเลขอื่นๆได้อย่างไม่จำกัดอีกด้ว

จุดด้อยของบริการ SMS คือ เสียค่าใช้จ่ายในการส่ง SMS โดยไม่จำเป็น ทำให้ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ , ผู้พัฒนาคอนเท้นต์ และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ใช้โอกาสนี้เป็นช่องทางในการสร้างรายได้โดยการนำรูปแบบบริการส่ง SMS ผ่านรายการทีวี อย่างเช่น รายการ อเคเดมี่ แฟนตาเซียและเดอะสตาร์ ที่ให้ประชาชนโหวตผู้แข่งขันที่ชื่นชอบโดยการให้ส่ง SMS เข้าไปในรายการ การส่ง SMS เข้าไปแสดงความคิดเห็นในรายการต่าง ๆ ที่อิสระเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อสังคมทำให้เกิดความขัดแย้งกันได้ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน

งานใหม่

นวัตกรรมการศึกษาที่น่าสนใจ
การนำนวัตกรรมมาใช้ในวงการศึกษาเรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมเหล่านั้น และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่างซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันแพร่หลายแล้วและประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ สื่อหลายมิติ เป็นต้น
สื่อประสม (Multi Media)
สื่อประสม หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการพลิกหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ และเสียง
จากความหมาย ของคำว่าสื่อประสม นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งสื่อประสมออกเป็น
2 กลุ่ม คือ
สื่อประสม (Multimedia 1) เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วม
กันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดิทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย หรือการใช้ชุดการเรียนหรือชุดการสอน การใช้สื่อประสมประเภทนี้ผู้เรียนและสื่อจะไม่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกัน และจะมีลักษณะเป็น “สื่อหลายแบบ”
สื่อประสม (Multimedia 2) เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสาร
สนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่าง ๆ เชนภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตัวอักษรและเสียงในลักษณะของสื่อหลายมิติ โดยที่ผู้ใช้มีการโต้ตอบกับสื่อโดยตรง
สื่อหลายมิติ (HyperMedia)
สื่อหลายมิติ คือ การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง “สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก “ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม
ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
1. เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
2. ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
- ดูแผนภาพหรือภาพวาด
- ดูภาพถ่าย ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
- ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
3. ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
4. ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map) ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
6. ใช้แผนที่ระบบ (system map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่าจะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป

ซีดี – รอม (Compact Disc – Read Only Memory : CD ROM)
ซีดี –รอม เป็นสื่อบันทึกประเภทสื่อแสง (optical media) ที่ทำการบันทึกและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ได้หลากหลายรูปแบบมีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกกลม เส้นผ่าศูนย์กลาย 4.75 นิ้ว ผิวหน้าด้วยโลหะสะท้อนแสงเพื่อป้องกันข้อมูลที่บันทึกไว้ สามารถบันทึกข้อมูลได้มากถึง 680 เมกะไบต์ ผู้ใช้สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นได้เพียงอย่างเดียวโดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือลบข้อมูลเหล่านั้นได้ ซีดี – รอมนั้นก็คือ สื่อบันทึกที่เราเรียกกันว่า “แผ่นซีดี” ที่มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Compact Disc” นั่นเอง

คุณสมบัติของซีดี-รอม
ซีดีรอมเป็นสื่อที่มีคุณสมบัติที่เป็นข้อได้เปรียบสื่ออื่นมากมายหลายประการ ได้แก่
1. ความจุข้อมูลมหาศาล ซีดี-รอม แผ่นหนึ่งสามารถบรรจุข้อมูลได้มากถึง 680 เมกะไบต์ เปรียบเทียบได้กับ หนังสือ 250,000 หน้า หรือข้อความในกระดาษพิมพ์ดีดจำนวน 300,000 แผ่น
2. บันทึกข้อมูลนานาประเภท เนื่องจากการบันทึกข้อมูลลงบนแผ่นซีดี – รอมอยู่ในระบบดิจิทัล จึงสามารถบันทึกข้อมูลในลักษณะตัวอักษร ภาพถ่ายสีและขาวดำ ภาพเคลื่อนไหว ภาพ
กราฟิก เสียงพูด และสียงดนตรี ได้อย่างมีคุณภาพสูง
3. การสืบค้นฉับไว แม้ว่าซีดี รอม จะบรรจุข้อมูลจำนวนมหาศาลไว้ก็ตาม แต่การค้นหาข้อมูลในแผ่นซีดี – รอมอยู่ในลักษณะ “เข้าถึงโดยสุ่ม” ซึ่งเป็นการเข้าถึงข้อมูลโดยใช้เวลาในการค้นหาได้รวดเร็วเท่ากันหมดไม่ว่าข้อมูลนั้นจะอยู่ในที่ใดของแผ่น
1. มาตรฐานสากล แผ่นซีดี – รอม อยู่ในรูปแบบมาตรฐานที่มีขนาดและลักษณะเดียว
กันกันหมดจึงทำให้สามารถใช้กับหน่วยขับซีดี-รอมหรือเครื่องเล่นซีดี-รอม ทั่วไปได้เหมือน ๆ กัน
2. ราคาไม่แพง จากความนิยมใช้ซีดี – รอมในปัจจุบัน จึงทำให้การผลิตแผ่นและ
เครื่องเล่นจำนวนมากมีต้นทุนที่ต่ำลง แผ่นและเครื่องเลนซีดี-รอมทุกวันนี้จึงมีราคาลดลงมากจนสามารถซื้อหามาใช้กันได้อย่างแพร่หลายทั่วไป
3. อายุการใช้งานนาน กล่าวกันว่าแผ่นซีดี-รอม จะมีอายุใช้งานทนทานได้นานตลอด
ไปโดยที่แผ่นไม่ฉีกขาดและไม่มีรอยขูดขีดของหัวเข็มเนื่องจากใช้แสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล ถึงแม้จะมีคราบสกปรกจากรอยนิ้วมือหรืฝุ่นละออกก็สามารถทำความสะอาดได้
4. ความคงทนของข้อมูล ซีดี-รอมเป็นสื่อที่ไม่กระทบกระเทือนต่อสนามแม่เหล็กจึง
ทำให้ข้อมูลอยู่คงที่ตอลดไป และที่สำคัญคือ ไม่ติดไวรัสเนื่องจากไม่สามารถบันทึกทับได้
5. ประหยัด เมื่อเทียบขนาดเนื้อที่การบันทึกข้อมูลระหว่างแผ่นซีดี-รอมกับแผ่น
บันทึกแล้วจะเห็นได้ว่าซีดี-รอมแผ่นหนึ่งสามารถบรรจุข้อมูลได้มากกว่าแผ่นบันทึกหลายร้อยเท่า
6. ความสะดวก เนื่องจากซีดี-รอม เป็นแผ่นที่มีขนากเล็ก จึงทำให้ไม่เปลืองเนื้อที่ใน
การเก็บ สามารถพกพาไปใช้ในสถานที่ต่าง ๆ ได้โดยสะดวก
ซีดี-รอม เพื่อการศึกษา
เนื่องจากซีดี-รอม เป็นสื่อที่สามารถบันทึกข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพกราฟิกเคลื่อนไหว ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์และเสียง จึงทำให้เหมาะในการบันทึกสารสนเทศนานาประเภทลงไว้ในแผ่นเพื่อความรู้และความบันเทิง สำหรับด้านการศึกษานั้นได้มีการบันทึกเนื้อหาทั้งที่ให้ความรู้ทั่ว ๆ ไปและเพื่อการสอนโดยตรงได้ในลักษณะของการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ซึ่งซีดีรอมที่สามารถนำมาใช้ในการให้ความรู้และการสอนมีตัวอย่างดังนี้
- ใช้เพื่อสอนอ่าน
- ใช้เพื่อเป็นเกมการศึกษา
- ให้ความรู้/ฐานข้อมูล
- กฤตศิลป์
- ดนตรี
- ท่องเทียว

ความจริงเสมือน (Virtual Reality : VR)
ความจริงเสมือน (Virtual Reality) หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า “ วีอาร์ ” (VR) เป็นกลุ่มเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบที่ผลักดัน ให้ผู้ใช้เกิดความรู้สึกของการเข้าร่วมอยู่ภายในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้มีอยู่จริงที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ พัฒนาการของความเป็นจริงเสมือนได้รับอิทธิพลมาจากแนวความคิดง่าย ๆ แต่มีอำนาจมากเกี่ยวกับการที่จะเสนอสารสนเทศอย่างไรให้ดีที่สุด คือ ถ้าผู้ออกแบบสามารถให้ประสาทสัมผัสของมนุษย์มีความค่อยเป็นค่อยไปในปฏิสัมพันธ์กับโลกทางกายภาพซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่ล้อมรอบตัวเราแล้ว มนุษย์ก็จะสามารถรับและเข้าใจสารสนเทศได้ง่ายขึ้น ถ้าสารสนเทศนั้นกระตุ้นการรับรู้สัมผัสของผู้รับ
เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือนสามารถเลียนการรับรู้สัมผัสของโลกทางกายภาพได้โดยสร้างการรับรู้หลายทางในสิ่งแวดล้อมสามมิติขึ้นมา ความเป็นจริงเสมือนได้สร้างเนื้อหาสาระของสิ่งที่แสดงให้เห็นโดยการรับรู้ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของคอมพิวเตอร์ เพื่อสนองต่อการเคลื่อนไหวทางกายภาพของผู้ใช้ที่สืบหาด้วยเครื่องรับรู้ของคอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเทอร์เน็ต คือ ระบบของการเชื่อมโยงข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มากครอบคลุมไปทั่วโลก เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการสื่อสารข้อมูล เช่นการบันทึกเข้าระยะไกล การถ่ายดอนแฟ้ม ฯลฯ
อินเทอร์เน็ต คือ ข่ายของข่ายงาน (network of networks) เนื่องจากเป็นข่ายงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงข่ายงานทั้งหมดทั่วโลกเข้าด้วยกัน โดยที่อินเทอร์เน็ตตั้งอยู่ในไซเบอร์สเปซ ซึ่งเป็นจักรวาลที่สร้างขึ้นโดยระบบคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าไปอยู่ในไซเบอร์สเปซได้ โดยใช้โมเด็มและติดต่อกับผู้ใช้คนอื่นได้

การใช้งานในอินเทอร์เน็ต
เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการทำงานได้มากมายหลากหลายประเภทดังนี้
1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Mail : E-Mail) หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า อี-เมล์ เป็นการรับส่งข้อความผ่านขายงานคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถส่งข้อความจากข่ายงานที่ตนใช้อยู่ไปยังผู้รับอื่น ๆ ได้ทั่วโลก
2. การถ่ายโอน (File Transfer Protocol : FTP) เป็นการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูลประเภท
ต่าง ๆ จากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นมาบรรจุลงไว้ในคอมพิวเตอร์ของเรา
3. การขอเข้าใช้ระบบจากระยะไกล โปรแกรมที่ใช้ในอินเทอร์เน็ตเพื่อการขอเข้าไปใช้
ระบบจากระบบโปรแกรมหนึ่งที่รู้จักกันดี คือ เทลเน็ต (Telnet) เป็นการให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปใช้ทรัพยากรหรือขอใช้บริการจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
4. การค้นหาแฟ้ม เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นระบบขนาดใหญ่ที่ครอบคลลุมกว้างขวาง
ทั่วโลก โดยมีแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ มากมายอยู่ในระบบผู้ใช้สามารถสืบค้นมาใช้งานได้
5. การค้นหาข้อมูลด้วยระบบเมนู เป็นการใช้ในระบบยูนิกซ์เพื่อค้นหาข้อมูลและขอใช้
บริการข้อมูลด้วยระบบเมนู
6. กลุ่มอภิปรายหรือกลุ่มข่าว (Newsgroup) เป็นการรวมกลุ่มของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่
สนใจเรื่องเดียวกันแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือแนวคิดกัน
7. บริการสารสนเทศบริเวณกว้าง (เวส) (Wide Area Information Server : WAIS)
เป็นผลการใช้เวสเพื่อเชื่อมโยงศูนย์ข้อมูลที่อยู่ในข่ายงานอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกัน
8. การสนทนาในข่ายงาน (Internet Relay Chat : IRC) เป็นการสนทนากันของผู้ใช้โดย
มีการโต้ตอบกันทันทีโดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันผ่านเครือข่าย
9. สิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publisher) หนังสือพิมพ์ วารสาร และนิตยสาร
เช่น TIME,ELLE โดยบรรจุเนื้อหาลงไปในเว็บไซต์ของตน
10. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “เว็บ” เป็นการสืบค้น
สารสนเทศที่อยู่ในอินเทอร์เน็ตในระบบข้อความหลายมิติโดยคลิกที่จุดเชื่อมโยง

อินเทอร์เน็ตในการศึกษา
เราสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาได้หลายรูปแบบ ได้แก่
1. การค้นคว้า เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานที่รวมข่ายงานต่าง ๆ มากมายไว้
ด้วยกันจึงทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลก
2. การเรียนและติดต่อสื่อสาร ผู้สอนและผู้เรียนสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนติด
ต่อสื่อการกันได้โดยที่ผู้สอนจะเสนอเนื้อหาบทเรียนโดยใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้ผู้เรียนเปิดอ่านเรื่องราวและภาพประกอบที่เสนอในแต่ละบทเรียน
3. การศึกษาทางไกล การใช้อินเทอร์เน็ตในการศึกษาทางไกลอาจจะใช้ในรูปแบบของ
การสื่อสาร โดยการใช้บทเรียนที่อยู่ในไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์แทนหนังสือเรียน
4. การเรียนการสอนอินเทอร์เน็ต เป็นการฝึกอบรมเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถใช้
โปรแกรมต่าง ๆ เพื่อทำงานในอินเทอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ต เป็นการใช้อินเทอร์เน็ตในกิจกรรมการเรียนการสอนใน
ระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เช่น การจัดตั้งโครงการร่วมระหว่างสถาบันการศึกษาเพื่อแลก
แนวโน้มของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ ก่อให้เกิดนวัตกรรมประเภทต่าง ๆ ได้ดัง
ต่อไปนี้
1. การรวมตัวของสื่อ เมื่อคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาท ทำให้มีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสม เช่น การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้แผ่นซีดี-รอมบันทึก
ข้อมูล เป็นต้น
2. สื่อขนาดเล็ก สื่อหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้กันอยูในขณะนี้เป็นวัสดุและอุปกรณ์
ที่มีใช้กันมานานแล้วแต่ในปัจจุบันได้อาศัยเทคโนโลยีช่วยในการคิดค้นและพัฒนาให้มีขนาดเล็ก
ลงและใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น กล้องถ่ายวีดิทัศน์ การผลิตแผ่นซีดี ฯลฯ
3. ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากจะมีนาดเล็กลงแล้ว ยังมีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าเดิมมาก สามารถบรรจุเนื้อที่บันทึกข้อมูลได้มาก ทำงานได้อย่างรวดเร็ว และมีราคาถูกลง ทำให้โรงเรียนต่าง ๆ สามารถซื้อมาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างทั่วถึง
2. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ปัจจุบันการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้ผู้เรียนในซึก
โลกหนึ่งสามารถเรียนรู้ไปได้พร้อมกับผู้เรียนอีกซีกโลกหนึ่ง โดยที่ผุ้สอนและผู้เรียนไม่จำเป็นต้อง
อยู่สถานที่เดียวกันก็สามารถทำให้เกิดการเรียนการสอนร่วมกันได้โดยการสอนในลักษณะการประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์ (Video Teleconference)
3. อินเทอร์เน็ต และเวิร์ล ไวด์ เว็บ อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
มากครอบคลุมไปทั่วโลกและให้บริการแก่ผู้ใช้ได้หลายสิบล้านคนทั่วโลกในบริการต่าง ๆ กัน
6. ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) เป็นพื้นฐานโครงสร้างสารสนเทศที่เป็นแนวคิดในการที่จะนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน โรงเรียน และสถานที่ทำงานต่าง ๆ ด้วยการใช้สื่อที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
จิตรกร ขันธ์สันเทียะ